กรุสำหรับ กันยายน, 2012

ปริมาณออกซิเจนในน้ำ

การทำความเข้าใจกับการหาปริมาณออกซิเจนในน้ำ (ใช้ได้กับน้ำดีที่มีปริมาณออกซิเจนพอจะหาได้)

โจทย์  ปฏิกิริยาต่อไปนี้เกิดขึ้นขณะทำการทดลองหาปริมาณออกซิเจนในน้ำ

2MnSO4 + 4OH ——————> 2Mn(OH)2 + 2SO2-4     ———— 1

2Mn(OH)2 + O2 —————–> 2MnO2 + 2H2O               ————- 2

2MnO2 + 4l + 8H+ ————-> 2Mn2 + 2l2 + 4H2O       ————- 3

2l2 + 4S2O2-3   ——————–> 4l + 2S4O2-6                 ————- 4

ถ้าในการทดลองใช้น้ำที่มาทำการทดลอง 0.8 dm3  ไทเทรตกับไทโอซัลเฟตเข้มข้นของ 0.001 mol/l  จำนวน 350 dm3 จงคำนวณหาปริมาณออกซิเจนในน้ำเป็น mg/dm3

การหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (Dissolved Oxygen ; DO)  เป็นกระบวนการหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำโดยให้ทำปฏิกิริยากับ Mn(OH)2 ซึ่งได้มากจากการใช้ MnSO4 ที่เติมลงไปให้มีปริมาณมากเกินพอ Mn(OH)2 ที่เกิดจะทำปฏิกิริยากับ O2 ในน้ำเปลี่ยนไปเป็น MnO2  และ MnO2 จะออกซิไดซ์  I­-  ไปเป็น  I2  ต่อจากนั้นทำการไทเทรตหาปริมาณของ I2 ที่เกิดขึ้นด้วย  S2O32-  โดยใช้น้ำแป้งสุกเป็นอินดิเคเตอร์ จะได้ปริมาณทั้งหมดของ S2O32-  ที่ถูกใช้ไปคำนวณหาปริมาณ O2  ที่มีอยู่ในน้ำตามกระบวนการของสมการเคมีที่เกิดขึ้น

ดูไล่มาตามสมการ  1  2  3   และ  4   จะเห็นได้ว่า MnSO4 ที่เติมลงไปในสมการ 1 ถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ Mn(OH)2 และ Mn(OH)2 ที่เกิดขึ้นจะถูกใช้ไปในารทำปฏิกิริยากับ O2  ในสมการ 2  เกิดเป็น  MnO2  ทั้งหมด  และใช้   MnO2  ที่เกิดขึ้นทั้งหมดออกซิไดซ์  I­-  ให้กลายเป็น  I2  (ในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนการเติม MnSO4  KI/NaOH  และ H2SO4  ใส่เข้าไปมากเกินพอเพื่อให้ได้ I2 เกิดขึ้นจากกระบวนการเพื่อการไทเทรตหาปริมาณได้) ในสมการ 3  และไทเทรตหาปริมาณของ I2  ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสมการ 3  ด้วย  S2O32-  โดยมีน้ำแป้งสุกเป็นอินดิเคเตอร์(สีน้ำเงินจะจางหายเมื่อ I2  ถูกรีดิวซ์ให้กลายเป็น I  หมดตามสมการ 4

จากปริมาณสัมพันธ์ของสมการจะเห็นได้ว่า

4  mol  ของ S2O32-   ทำปฏิกิริยาพอดีกับ  2 mol  ของ  I­2  และ I­2  เกิดจาก  MnO2  2  mol  ซึ่งมาจากการทำปฏิกิริยาของ O2  จำนวน  1 mol

ดังนั้น สรุปได้ว่า 4  mol  ของ S2O32-   ที่ใช้ไป เท่ากับ   1 mol  ของ  O2  ในน้ำ

ดังนั้น จำนวนโมลของ S2O32-   เท่ากับ  0.001 x 350/1000  เท่ากับ  0.00035  mol

คำนวนหาปริมาณของออกซิเจนได้จาก

4  mol  ของ S2O32-   ที่ใช้ไป เท่ากับ   1 mol  ของ  O2  ในน้ำ

0.00035 mol  ของ S2O32-   ที่ใช้ไป เท่ากับ   1 mol x 0.00035 mol / 4  mol  ของ  O2  ในน้ำ

เท่ากับ  0.0000875  mol

แสดงว่า  ในน้ำตัวอย่าง  800  cm3  มี  O 0.0000875  mol

หากน้ำตัวอย่างจำนวน  1 ลิตร (1000 cm3)  มี O­2 0.0000875  mol  x 1000  cm3 / 800 cm3

เท่ากับ  0.0001093  mol

คิดเป็นปริมาณของออกซิเจน (O2)  เท่ากับ (0.0001093  mol)  x  (32  g/mol)

เท่ากับ 3.4976  mg

คิดจากสูตร  DO (mg)  =  (8000) x [S2O32-   ] x ( V of S2O32- ) / ( V of น้ำตัวอย่าง)

=  (8000) x (0.001)  x (350) / (800)

=   3.5 mg

!!!!มานช้าางฮายหรัยพันนี้   อย่าลืมน่ะครับปริมาณสารสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกะมันสักนิดแล้วมันจะตกตะกรันอยู่ในสมองของเรา ไม่ต้องพึ่งพาสูตรก็ได้อาจจะช้าสักมาก แต่ก็โอเคน่ะ คัยจำสูตรได้ก็โอน่ะ หรือจะทั้งเข้าใจและก็จำมันก็น่าจะดีน่ะ

ใส่ความเห็น

เรียนเคมีให้เก่ง

ทำอย่างไรถึงจะเรียนเคมีได้เก่ง ….

การเรียนเคมีหรือการศึกษาเนื้อหาเคมีสิ่งที่สำคัญสุดสุดคือเรื่องของความเข้าใจ ต้องเขาใจในเนื้อหาที่เรียนให้ถ่องแท้ให้ถึงแก่น เนื้อหาเคมีเป็นเนื้อหาที่อาศัยความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนอื่นแทบทุกเรื่องแทบจะแยกออกจากกันไม่ออกก อย่างน้อยก็ สองเรื่อง สามเรื่องขึ้นไป ดังนั้นจะต้องมีเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่ศึกษาเรื่องอะไรก็ตามจะต้องใช้เป็นพื้นฐานเสมอเสมอ ถึงแม้ว่าจะเรียนเคมีแบบแยกส่วน เข้าใจเนื้อหาเป็นส่วนส่วนได้ดีแล้ต้องรู้จักความสัมพันธ์การเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน อย่าเรียนเนื้อหาเคมีแบบท่องจำ ต้องรู้เลยน่ะครับว่าเนื้อหาเคมีส่วนใดเป็นพื้นฐานสำหรับในการเรียนรู้เนื้อหาในบทที่เราจะเรียน  เคมีเป็นศาสตร์ที่แปลกลึกลับต้องสร้างจินตนาการ ดังนั้นการเรียนแต่ละบทแต่ละเนื้อหาต้องเรียนรู้ให้เหมือนกับการผจญภัยเก็บรายละเอียดทุกซอกทุกมุมของเนื้อหาเก็บรายละเอียดให้หมดจดจำและค้นหาเทคนิคที่จะมาใช้กับเนื้อหาส่วนนั้น เพราะว่าเนื้อเคมีทุกส่วนเป็นเรื่องจริงจริงที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน อาจจะใกล้ตัวหรือไกลตัวก็ตาม แต่ทุก ๆ  เรื่องล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงทั้งสิ้น

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการเรียนเนื้อหาเคมีคือการ ฝึกทำโจทย์อย่างสม่ำเสมอ การทำโจทย์เป็นเสมือนฝนเข็มให้เป็นเข็มทำให้ความรู้ทางเคมีแหลมคมอยู่แล้วแหลมคมยิ่งขึ้น การเรียนเคมีที่ดีต้องทำโจทย์ให้ติดเป็นนิสัย มองโจทย์แล้วสามารถวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างแยบยล การทำโจทย์ก็เหมือนการเล่นเกมส์ ถ้าเล่นผ่านไปได้ก็จะสนุกและสะใจมาก แต่บางข้อก็ยากจนต้องท้อแต่ต้องพยายามทำให้ได้ การพยายามมากเท่าไร ความภูมิใจ ความสนุกก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อย่าให้เกิดกรณี “เอ้… โจทย์ลักษณะนี้เราเคยคิดได้เราเคยทำได้นี่หว่า แต่ทำไม่พออยู่ในห้องสอบเราจึงทำไม่ได้หาทางแก้ปัญหาไม่ได้คิดไม่ออก ทำไม่สับสนน่ะ”  …ขอบอกขอบอกหากเกิดอาการเช่นนี้บอกได้เลยว่า คุณขาดความชำนาญความเชี่ยวชาญในการทำโจทย์น่ะครับ ….มันต้องพอเห็นโจทย์ปุ๊บรู้แนวทางในการคิดดำเนินการคิดได้ถูกต้องตามกระบวนการ อย่าลืมน่ะครับข้อสอบบ้างข้อล่วงให้คิดได้หลายแง่หลายมุม หลายทาง มีเพียงทางเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการคิดแก้ปัญหาโจทย์แล้วเจอคำตอบทำข้อสอบได้ไม่ได้หมายความว่าถูกต้องทุกครั้งน่ะครับ นั้นแหละครับคุณตกเข้าไปในกลลวงหลุมพลางที่ผู้ออกข้อสอบเค้าวางไว้น่ะครับ

มีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญในการเรียนวิชาเคมีคือ ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จในการเรียนวิชาเคมี คุณควรมีบุคคลต้นแบบที่ชื่นชอบไว้ในใจ แล้วพยายามเดินหาทางเดินไปให้ได้เหมือนเขาหรือดีกว่า  แต่อย่าลืมว่าต้องไม่เลียนแบบเขา เราเพียงต้องการบุคคลที่จะสร้างกำลังใจให้เรา

ประการสุดท้ายควรสอบแข่งขันเยอะ ๆ อย่าปิดกั้นตนเอง เพราะกลัวว่ายาก จงเปิดใจรับวิชาเคมี ทุกคนมีศัยกภาพเท่ากัน จงคิดเสมอว่าเคมีนั้นน่าสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ  น่าสนใจ เรียนด้วยความอยากรู้ และต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาอย่างยิ่งยวด แล้วคุณจะรู้ว่าเคมีเรียนรู้ได้ง่ายกว่าที่คิด ไม่ต้องกลับมาอ่านบ่อย ๆ เพราะมันเข้าไปฝังอยู่ในทุกส่วนของสมอง แต่โปรดเข้าใจเถอะครับว่า ใครก็ตามที่เรียนเคมีแล้วไม่รู้เรื่อง ทำไม่ได้ … “ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตน่ะครับยังมีทางเดินอีกมากมาย เพียงแต่คุณได้ใส่ใจที่จะค้นคว้าหาความสามารถของตัวเองให้พบและนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ บอกได้เลยครับว่า ความสำเร็จก็จะเป็นของเรา”  อย่างเชื่อ … ครูทวัตน์  น่ะครับ ต้องทำเองต้องพิสูจน์  … บ๊ายบาย ……..

ใส่ความเห็น

นิทานก่อนนอนนิ

เรื่องของเรื่องมันเศร้าจนน้ำตาเล็ด

เป็นเรื่องที่เล่าต่อต่อกันมาถึงความแรงของครู….  กาลครั้งหนึ่งยังไม่ค่อยนานเท่าใดซักประมาณ สามสิบปีเห็นจะได้ มีกะทาชายนายหนึ่ง… เป็นคนที่มีความมั่นใจสูง เชื่อมั่นในตนเอง เรียนก็เก่ง (ชื่อในเรื่องเป็นชื่อสมมติหากไปตรงกับชื่อผู้ใดกราบขออภัย ณ ที่นี้ด้วย น่ะครับ) หลังจากที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครู ครูสมปองก็ยังคงเป็นคนเอาจริงเอาจังเสมอมามิได้ขาดตกบกพร่องในหน้าที่ของความเป็นครู ครูสมปองก็คงสอนแบบเนี้ยบตลอดคาดหวังกับลูกศิษย์อย่างมากกกกกกกกกกก เป็นเช่นนี้อยู่หลายปี หลังจากที่ประสบความสำเร็จในอาชีพครูสมปองก็ขยับตัวเองเพื่อความมีหน้าตาทางสังคมและความก้าวหน้าของตนเองดังที่หวัง ผันตัวเองเข้าสู่ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ก็คงจะเป็นศึกษานิเทศก์แก่แก่แล้วแหล่ะ) มีอยู่วันหนึ่งหลังจากศึกษานิเทศก์ได้เลิกจากการประชุมสัมมนา ก ได้คิดหาวิธีการผ่อนคลาย(จะคลายอะไรก็ไม่รู้น่ะครับมิสามารถล่วงรู้ได้นิ)เข้าไปเทียวในผับ กลับออกมาคงเป็นเวลาประมาณตีสองเห็นจะได้ เดินออกมาหน้าผับเรียก สามล้อถีบหน้าผับให้ไปส่งยังโรงแรมที่พัก เมื่อไปถึงหน้าโรงแรมที่พักก็ให้สามล้อถีบจอดและก็ลงจากรถ …ต่อจากนี้เป็นบทกล่าวสนทนา ระหว่างศึกษานิเทศก์กับสารถีสามล้อถีบ(คงไม่ต้องขยายความของคำว่าสามล้อถีบหรอกน่ะ หัดเข้าใจอะไรง่าย ๆ  บ้าง)

ศึกษานิเทศก์  ” จอดจอดสามล้อ ”  ว่าก็ลงจากรถสามล้อถีบหลังจากที่รถจอดสนิท

ศึกษานิเทศก์  เท่าไหร่ล่ะสามล้อ (หมายถึงค่าโดยสารน่ะครับ)

สารถี  อ๋อผมไม่เอาตังค์หรอกครับ

ศึกษานิเทศก์  อ้าวทำไมล่ะ

สารถี อ๋อท่านเคยเป็นครูสอนผมน่ะครับ

ศึกษานิเทศก์ อ้าวแล้วเป็นอะไร ทำยังไงถึงได้มาเป็นสารถี ถีบสามล้ออยู่นี่ล่ะ แล้วเรียนหนังสือจบอะไรมาล่ะ

สารถี อ๋อผมเรียนหนังสือไม่จบหรอกครับครู

ศึกษานิเทศก์  อ้าวทำไมล่ะ (ทำหน้างง งง เหรอเหรอหราหรา)

สารถี ผมตกวิชาภาษาอังกฤษของครูน่ะครับเลยเรียนไม่จบ

ศึกษานิเทศก์ …………..

ใส่ความเห็น

การไทเตรท

การคำนวณปริมาณสารโดยการไตรเตรท (จะใช้หลักการใดก็แล้วแต่น่ะครับ ความเป็นจริงแล้วมันคือการทำปฏิกิริยาของสาร ต้องสารมารถเขียนสมการที่เกิดขึ้นได้เสมอเสมอและก็เสมอ)
ตัวอย่างการคำนวณ ในการไตรเตรทยาลดกรด ซึ่งยาลดกรดนี้ประกอบด้วย Al(OH)3 26 % โดยมวล ส่วนที่เหลือเป็นแป้ง ยาลดกรดนี้หนึ่งเม็ดหนัก 0.2 กรัม จะต้องใช้ยาลดกรดจำนวนกี่เม็ดในการทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลาย HCl 0.02 M จำนวน 300 ml (Al = 27 ,O = 16 ,H = 1)
วิธีคิด
1. เนื้อสารในปริมาณของสารละลาย HCl 0.02 M 300 ml ทำปฏิกิริยากับ Al(OH)3 พอดี เขียนสมการได้ดังนี้ 3HCl + Al(OH)3 —-> AlCl3 + 3H2O
2. มีเนื้อสาร( 0.02 x 300 )/1000 เท่ากับ 0.006 mol
3. 3 mol HCl ทำปฏิกิริยาพอดีกับ Al(OH)3 จำนวน 1 mol
4. มี 0.006 mol HCl ทำปฏิกิริยาพอดีกับ Al(OH)3 จำนวน (1 mol Al(OH)3 )(0.006 mol HCl) / (3 mol HCl ) เท่ากับ (0.002 mol Al(OH)3 )
5. หาปริมาณ mol ของ Al(OH)3 ) ในเม็ดยาลดกรด หาได้จาก (26 g x 0.2 g ) / (100 g) เท่ากับ 0.052 g คิดเป็น mol เท่ากับ (0.052 g) / (78 g/mol) ได้เท่ากับ 0.00067 mol
6. ดังนั้นจะได้ว่า 0.00067 mol มีในยาลดกรดจำนวน 1 เม็ด
7. ต้องการมาทำปฏิกิริยาจำนวน 0.002 mol มีในยาลดกรดจำนวน (1 เม็ด )(0.006mol) / (0.002 mol) ได้เท่ากับ 3 เม็ด ด้วยประการะชะนี้…….. มันอยู่ที่กระบวนการคิดน่ะครับทำจิตให้ว่างนั่งทบทวนความคิด ฝึกคิดบ่อย ๆ เจอโจทย์ลักษณะเดียวกันมาก ๆ  เจอโจทย์ปุ๊บรู้แนวทางการคิดปั๊บ เริ่มคิดแก้ปัญหาโจทย์เลย รับรองได้เจอกี่ครั้งกี่ครั้งก็ทำได้ครับ เชื่อบาววัตน์ต๊ะ แต่ถ้าว่านั่งเหิดอยู่ มัวแต่คิดขาดความแม่นยำ นั่งคร่ำครวญว่าเอ้!!!! โจทย์แบบนี้กู้เคยเจอหน่าาาา และเคยคิดได้นิ  ตอนนี้พรือกู้คิดไม่ได้คิดไม่ออกว๊ะ (เค้าเรียกว่าขาดความชำนาญและความแม่นยำครับผม) โอเค … บ๊ายบาย

ใส่ความเห็น

เคมี่เคมี

เรื่องของสมการเคมี

สมการเคมี (Chemical equation) เป็นการเขียนสัญบักษณ์แสดงการเกิดปฏิกิริยาของธาตุหรือสารประกอบเพื่อแสดงปริมาณสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ การเขียนสมการเคมีต้องเขียนตามหลักการของกฏทรงมวล (Law of mass conservation of mass) (เพื่อแสดงว่ามวลก่อนเกิดปฏิกิริยาของสารตั้งต้นต้องเท่ากับมวลของสารผลิตภัณฑ์หลังทำปฏิกิริยา(นั้นคือจำนวนอะตอมของธาตุของสารตั้งต้นจะต้องเท่ากับจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมวลของสารตามกฏทรงมวลคือมวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยา(สารตั้งต้น) จะต้องเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยา (สารผลิตภัณฑ์) หากจำนวนอะตอมของธาตุในสารตั้งต้นไม่เท่ากับจำนวนอะตอมของธาตุในผลิตภัณฑ์ให้เติมสัมประสิทธิ์แสดงจำนวนโมลของสารไว้หน้าสารที่เป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้จำนวนอะตอมเท่ากัน การทำให้ปริมาณของสารตั้งต้นกับปริมาณของผลิตภัณฑ์เท่ากันเรียกว่าการดุลสมการเคมี และเรียกสมการเคมีที่ดุลแล้วว่า สมการเคมีดุล
ตัวอย่างสมการเคมี และสมการเคมีดุล
C (s) + O2 (g) —-> CO2 (g)
NH3 (g) + HCl (g) —-> NH4Cl (s)
Mg (s) + H2SO4 (aq) —-> MgSO4 (aq) + H2 (g)
ตัวอย่างสมการเคมีไม่ดุล
Mg (s) + O2 (g) —-> MgO (s)
NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
การดุลสมการเคมี (ไม่มีสูตรที่ตายตัว ประสบการณ์เท่านั้นที่จะเพิ่มศักย์ภาพในการดุลสมการเคมี) ตัวอย่างการดุลสมการ(การดุลสมการพอจะหาหลักมาจับได้บ้าง นิสหนึ่งจ๊ะ ไม่เสมอไปน่ะ)
NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
1. พิจารณาจำนวนอะตอมของธาตุ ว่ามีธาตุใดไม่เท่ากันทั้งสองข้างบ้าง
2. เริ่มพิจารณาอะตอมของธาตุใดให้จับธาตุนั้นแบบไม่ปล่อยติดตามแบบไม่ลดละ และเมื่อใส่สัมประสิทธิ์เพื่อทำจำนวนอะตอมให้เท่ากันเกี่ยวข้องกับธาตุใดก็ให้ติดตามธาตุในแบบกัดไม่ปล่อย
เช่น จำนวนอะตอมของธาตุ N ด้านผลิตภัณฑ์เท่ากับ 2 ต้องเติม 2 หน้า NH3 อะตอมของ N เท่ากัน แต่ต้องพิจารณาจำนวนอะตอมของ H ว่าเท่ากันทั้งสองด้านหรือไม่ ในที่นี้เท่ากันแล้วจ๊ะ (8)
3. หลังจากนี้ก็ให้นับจำนวนอะตอมของธาตุอื่นที่เหลืออยู่ว่าเท่ากันหรือไม่ทำอย่างนี้ไปจนกระทั้งได้จำนวนอะตอมของธาตุสารตั้งต้นเท่ากับสารผลิตภัณฑ์
ดังนั้นจะได้สมการเคมีที่ดุลแล้วเป็น
2NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
การแปลความหมายของสมการเคมีดุล หมายความว่าแอมโมเนียจำนวน 2 โมล ทำปฏิกิริยาพอดีกับ สารละลายซัลฟุริกจำนวน 1 โมล เกิดเป็น แอมโมเนียมซัลเฟตจำนวน 1 โมล
ตัวอย่างการดุลสมการเคมี C2H2Cl4(g) + Ca(OH)2 (aq) —-> C2HCl3(aq) + CaCl2 + H2O (l)
1. พิจารณาอะตอมของคลอรีน ผลิตภัณฑ์มี 5 หากเติม 2 หน้า C2HCl3(aq) จะได้คลอรีนเป็น 6 รวมกับ อีก 2 อะตอมใน CaCl2 เป็น 8 ดังนั้นต้องเติมสัมประสิทธ์ 2 หน้า C2H2Cl4(g) เพื่อให้ได้จำนวนอะตอมของคลอรีนในสารตั้งต้นเท่ากับ 8
2. เช็คอะตอมของแคลเซียม โอเค 1 อะตอมเท่ากัน
3. เช็คอะตอมของไฮโดรเจน สารตั้งต้นมีทั้งหมด 6 อะตอม จึงต้องเติมสัมประสิทธิ์ 2 หน้า H2O (l) ทำให้รวมจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 8 โอเค เท่ากันแร๊ะ
4. เช็คจำนวนอะตอมแต่ละธาตุอีกครั้งหนึ่ง โอเค เท่ากันแล้วทุกธาตุใช้ได้เลย เป็นสมการเคมีดุลดังนี้ 2C2H2Cl4(g) + Ca(OH)2 (aq) —-> 2C2HCl3(aq) + CaCl2 + 2H2O (l)
ถูกต้องน่ะคร๊าบบบบบ….

ใส่ความเห็น

นอกเรื่อง

วันนี้ว่างนิสหนึ่งค๊ะ ขอน่ะค๊ะ ขอนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่น่ะค๊ะ เรื่องมันก็มีอยู่ว่าเป็น

เรื่องเก่าเก็บเอามาเขียน “นวลอนงค์กับเทพารักษ์”
เรื่องมันก็มีอยู่ว่านวลอนงค์เป็นสามงามประจำหมู่บ้านมีชายหนุ่มมาหมายปองกันมากมายหลายคนแต่สาวเจ้าก็หามีใจให้กับใครไม่นอกจาก ไอ้คงหนุ่มรูปงามผู้ที่มีบ้านและศาลาท่าน้ำติดกันกับบ้านของสาวเจ้า เย็นวันหนึ่งขณะที่สาวเจ้านวลอนงค์กำลังอาบน้ำอยู่ที่ศาลา บังเอิญทำหวีซึ่งเป็นสมบัติที่รักและหวงแหนมากหล่นตกน้ำ สาวเจ้าดำผุดดำว่ายอยู่เป็นนานสองนานก็หาไม่เจอจึงนั่งร่ำไห้อย่างน่าเวทนานัก ทำให้เป็นเดือดร้อนถึงเทพารักษ์ผู้เฝ้าดูแลลำน้ำแห่งนี้ จึงปรากฏกายและก็ดำลงไปเก็บเอาหวีทองคำประดับเพชรเจ็ดล้านกะรัตขึ้นมาแล้วถาม นวลอนงค์ว่าเป็นหวีอันของเจ้าใช่หรือไม่ เจ้าสาวตอบว่าไม่ใช่เจ้าค๊ะ เทพารักษ์วางไว้บนศาลาแล้วดำลงไปเก็บมาใหม่คราวนี้เป็นหวีทองคำขาวประดับเพชรบลูไดมอนอันงดงามแล้วถามสาวเจ้าว่าเป็นอันนี้ของเจ้าใช่หรือไม่ สาวเจ้านวลอนงค์ก็ตอบว่าไม่ใช่เจ้าค๊ะ เทพารักษ์วางหวีไว้บนศาลาท่าน้ำแล้วก็ดำลงไปเก็บหวีที่เป็นของสาวนวลอนงค์ที่แท้จริงแล้วถามว่าอันนี้เป็นของเจ้าใช่หรือไม่ สาวเจ้ารีบตอบโดยทันทีทันใดว่าใช่เจ้าค๊ะ เทพารักษ์ก็ยื่นหวีให้สาวเจ้าแล้วพร้อมกับมอบหวีทองประดับเพชรและหวีเงินประดับเพชรบลูไดมอนให้สาวเจ้า และบอกว่าเป็นการตอบแทนที่เจ้าเป็นคนดีซื่อสัตย์ สาวเจ้าจำใจยอมรับไปอย่างตาชื่นหน้าบานกลับไปบ้านอย่างมีความสุข ….หลายเดือนต่อมา ในเวลาตอนเย็นใกล้ค่ำสาวเจ้านวลอนงค์นั่งคุยกับเจ้าคงที่ศาลาท่าน้ำหนุ่มเจ้าคงก็หยอกเอิญไปตามประสาคู่รัก แต่ลืมไปว่าสาวเจ้าเป็นคนบ้าจี้บิดกายกะทุ้งด้วยศอกเข้าที่ชายโครงทำให้หนุ่มเจ้าคงตกศาลาท่าน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา สาวนวลอนงค์รอแล้วรอเล่าหวานใจก็ไม่ขึ้นมาก็สำคัญว่าหนุ่มเจ้าตกน้ำหายไปเป็นแน่แท้ ก็เลยนั่งร่ำให้แทบจะขาดใจตายซะให้ได้… จึงเป็นเรื่องเดือดร้อนถึงเทพารักษ์ ต้องปรากฏกายและถามสาวเจ้าว่าเป็นไรของเจ้าอีกล่ะ สาวเจ้านวลอนงค์เลยตอบว่าหนูทำหวานใจของหนูตกน้ำค๊ะ ป่านนี้แล้วยังไม่ขึ้นมาเลยเจ้าค๊ะ ว่าแล้วเทพารักษ์ก็ดำน้ำลงไปคว้าตัวของ ณเดช คูกิมืยะ ขึ้นมาแล้วถามกับสาวเจ้าว่าคนนี้ใช่มั๊ยหวานใจของเจ้า สาวเจ้าจึงรีบตอบโดยฉับพลันทันใดว่าใช่เจ้าค๊ะใช่เจ้าค๊ะ ว่าแล้วก็คว้าตัว ณเดช คูกิมิยะไปต่อหน้าต่อตาท่านเทพารักษ์ ทำให้เป็นที่ประหลาดใจแก่ท่านเทพารักษ์อย่างมหันต์ ทำให้ท่านเทพารักษ์กังขาเป็นนักเป็นหนาจึงตะโกนถามสาวเจ้าว่า สาวเจ้านวลอนงค์ข้าขอถามหน่อยเถอะว่าความซื่อสัตย์ของเจ้าหายไปไหนหมดทำไมเจ้าทรยศต่อตัวเองอย่างนี้ สาวเจ้าจึงต้องจำใจตอบท่านเทพารักษ์ว่า ท่านเทพารักษ์เจ้าข่าาาาา…เห็นใจหนูเถอะเจ้าค๊ะ หากหนูปฏฺิเสธ ท่านก็จะไปดำนำ ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ป๋อ ณัฐวุฒิ และก็เจ้าคงหวานใจที่แท้จริงของหนูมาให้ แล้วท่านก็มอบหนุ่ม ๆ ทั้งหมดให้กับหนู ท่านเทพารักษ์ลองคิดดูซิค๊ะ ว่าหนูจะรับไหวมั๊ยค๊ะ …. ว๊าววววววว เทพารักษ์อุทานแล้วเอามือกุมขมับไม่พูดอะไรออกมาซักแอ๊ะเลยนิ.

ใส่ความเห็น