กรุสำหรับ กันยายน 5th, 2012

การไทเตรท

การคำนวณปริมาณสารโดยการไตรเตรท (จะใช้หลักการใดก็แล้วแต่น่ะครับ ความเป็นจริงแล้วมันคือการทำปฏิกิริยาของสาร ต้องสารมารถเขียนสมการที่เกิดขึ้นได้เสมอเสมอและก็เสมอ)
ตัวอย่างการคำนวณ ในการไตรเตรทยาลดกรด ซึ่งยาลดกรดนี้ประกอบด้วย Al(OH)3 26 % โดยมวล ส่วนที่เหลือเป็นแป้ง ยาลดกรดนี้หนึ่งเม็ดหนัก 0.2 กรัม จะต้องใช้ยาลดกรดจำนวนกี่เม็ดในการทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลาย HCl 0.02 M จำนวน 300 ml (Al = 27 ,O = 16 ,H = 1)
วิธีคิด
1. เนื้อสารในปริมาณของสารละลาย HCl 0.02 M 300 ml ทำปฏิกิริยากับ Al(OH)3 พอดี เขียนสมการได้ดังนี้ 3HCl + Al(OH)3 —-> AlCl3 + 3H2O
2. มีเนื้อสาร( 0.02 x 300 )/1000 เท่ากับ 0.006 mol
3. 3 mol HCl ทำปฏิกิริยาพอดีกับ Al(OH)3 จำนวน 1 mol
4. มี 0.006 mol HCl ทำปฏิกิริยาพอดีกับ Al(OH)3 จำนวน (1 mol Al(OH)3 )(0.006 mol HCl) / (3 mol HCl ) เท่ากับ (0.002 mol Al(OH)3 )
5. หาปริมาณ mol ของ Al(OH)3 ) ในเม็ดยาลดกรด หาได้จาก (26 g x 0.2 g ) / (100 g) เท่ากับ 0.052 g คิดเป็น mol เท่ากับ (0.052 g) / (78 g/mol) ได้เท่ากับ 0.00067 mol
6. ดังนั้นจะได้ว่า 0.00067 mol มีในยาลดกรดจำนวน 1 เม็ด
7. ต้องการมาทำปฏิกิริยาจำนวน 0.002 mol มีในยาลดกรดจำนวน (1 เม็ด )(0.006mol) / (0.002 mol) ได้เท่ากับ 3 เม็ด ด้วยประการะชะนี้…….. มันอยู่ที่กระบวนการคิดน่ะครับทำจิตให้ว่างนั่งทบทวนความคิด ฝึกคิดบ่อย ๆ เจอโจทย์ลักษณะเดียวกันมาก ๆ  เจอโจทย์ปุ๊บรู้แนวทางการคิดปั๊บ เริ่มคิดแก้ปัญหาโจทย์เลย รับรองได้เจอกี่ครั้งกี่ครั้งก็ทำได้ครับ เชื่อบาววัตน์ต๊ะ แต่ถ้าว่านั่งเหิดอยู่ มัวแต่คิดขาดความแม่นยำ นั่งคร่ำครวญว่าเอ้!!!! โจทย์แบบนี้กู้เคยเจอหน่าาาา และเคยคิดได้นิ  ตอนนี้พรือกู้คิดไม่ได้คิดไม่ออกว๊ะ (เค้าเรียกว่าขาดความชำนาญและความแม่นยำครับผม) โอเค … บ๊ายบาย

ใส่ความเห็น

เคมี่เคมี

เรื่องของสมการเคมี

สมการเคมี (Chemical equation) เป็นการเขียนสัญบักษณ์แสดงการเกิดปฏิกิริยาของธาตุหรือสารประกอบเพื่อแสดงปริมาณสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ การเขียนสมการเคมีต้องเขียนตามหลักการของกฏทรงมวล (Law of mass conservation of mass) (เพื่อแสดงว่ามวลก่อนเกิดปฏิกิริยาของสารตั้งต้นต้องเท่ากับมวลของสารผลิตภัณฑ์หลังทำปฏิกิริยา(นั้นคือจำนวนอะตอมของธาตุของสารตั้งต้นจะต้องเท่ากับจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมวลของสารตามกฏทรงมวลคือมวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยา(สารตั้งต้น) จะต้องเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยา (สารผลิตภัณฑ์) หากจำนวนอะตอมของธาตุในสารตั้งต้นไม่เท่ากับจำนวนอะตอมของธาตุในผลิตภัณฑ์ให้เติมสัมประสิทธิ์แสดงจำนวนโมลของสารไว้หน้าสารที่เป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้จำนวนอะตอมเท่ากัน การทำให้ปริมาณของสารตั้งต้นกับปริมาณของผลิตภัณฑ์เท่ากันเรียกว่าการดุลสมการเคมี และเรียกสมการเคมีที่ดุลแล้วว่า สมการเคมีดุล
ตัวอย่างสมการเคมี และสมการเคมีดุล
C (s) + O2 (g) —-> CO2 (g)
NH3 (g) + HCl (g) —-> NH4Cl (s)
Mg (s) + H2SO4 (aq) —-> MgSO4 (aq) + H2 (g)
ตัวอย่างสมการเคมีไม่ดุล
Mg (s) + O2 (g) —-> MgO (s)
NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
การดุลสมการเคมี (ไม่มีสูตรที่ตายตัว ประสบการณ์เท่านั้นที่จะเพิ่มศักย์ภาพในการดุลสมการเคมี) ตัวอย่างการดุลสมการ(การดุลสมการพอจะหาหลักมาจับได้บ้าง นิสหนึ่งจ๊ะ ไม่เสมอไปน่ะ)
NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
1. พิจารณาจำนวนอะตอมของธาตุ ว่ามีธาตุใดไม่เท่ากันทั้งสองข้างบ้าง
2. เริ่มพิจารณาอะตอมของธาตุใดให้จับธาตุนั้นแบบไม่ปล่อยติดตามแบบไม่ลดละ และเมื่อใส่สัมประสิทธิ์เพื่อทำจำนวนอะตอมให้เท่ากันเกี่ยวข้องกับธาตุใดก็ให้ติดตามธาตุในแบบกัดไม่ปล่อย
เช่น จำนวนอะตอมของธาตุ N ด้านผลิตภัณฑ์เท่ากับ 2 ต้องเติม 2 หน้า NH3 อะตอมของ N เท่ากัน แต่ต้องพิจารณาจำนวนอะตอมของ H ว่าเท่ากันทั้งสองด้านหรือไม่ ในที่นี้เท่ากันแล้วจ๊ะ (8)
3. หลังจากนี้ก็ให้นับจำนวนอะตอมของธาตุอื่นที่เหลืออยู่ว่าเท่ากันหรือไม่ทำอย่างนี้ไปจนกระทั้งได้จำนวนอะตอมของธาตุสารตั้งต้นเท่ากับสารผลิตภัณฑ์
ดังนั้นจะได้สมการเคมีที่ดุลแล้วเป็น
2NH3 (g) + H2SO4 (aq) —-> (NH4)2SO4 (aq)
การแปลความหมายของสมการเคมีดุล หมายความว่าแอมโมเนียจำนวน 2 โมล ทำปฏิกิริยาพอดีกับ สารละลายซัลฟุริกจำนวน 1 โมล เกิดเป็น แอมโมเนียมซัลเฟตจำนวน 1 โมล
ตัวอย่างการดุลสมการเคมี C2H2Cl4(g) + Ca(OH)2 (aq) —-> C2HCl3(aq) + CaCl2 + H2O (l)
1. พิจารณาอะตอมของคลอรีน ผลิตภัณฑ์มี 5 หากเติม 2 หน้า C2HCl3(aq) จะได้คลอรีนเป็น 6 รวมกับ อีก 2 อะตอมใน CaCl2 เป็น 8 ดังนั้นต้องเติมสัมประสิทธ์ 2 หน้า C2H2Cl4(g) เพื่อให้ได้จำนวนอะตอมของคลอรีนในสารตั้งต้นเท่ากับ 8
2. เช็คอะตอมของแคลเซียม โอเค 1 อะตอมเท่ากัน
3. เช็คอะตอมของไฮโดรเจน สารตั้งต้นมีทั้งหมด 6 อะตอม จึงต้องเติมสัมประสิทธิ์ 2 หน้า H2O (l) ทำให้รวมจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 8 โอเค เท่ากันแร๊ะ
4. เช็คจำนวนอะตอมแต่ละธาตุอีกครั้งหนึ่ง โอเค เท่ากันแล้วทุกธาตุใช้ได้เลย เป็นสมการเคมีดุลดังนี้ 2C2H2Cl4(g) + Ca(OH)2 (aq) —-> 2C2HCl3(aq) + CaCl2 + 2H2O (l)
ถูกต้องน่ะคร๊าบบบบบ….

ใส่ความเห็น