กรุสำหรับ สิงหาคม, 2012

สารกำหนดปริมาณ

สารกำหนดปริมาณ (Limiting Reagent)

ในปฏิกิริยาเคมีกรณีที่มีสารเข้าทำปฏิกิริยากันไม่พอดี ทำให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด สาร ที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น สารตัวนั้นเรียกว่า สารกำหนดปริมาณ (แปลเป็นไทยก็หมายความว่ามันเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น) ตัวอย่างเช่น

ในการเตรียมสารประกอบ (NH4)2SO4 ดังปฏิกิริยา

2NH3(g)   +   H2SO4 (g)   —>     (NH4)2SO4(aq)

ในสมการที่ดุลแล้วหมายความว่า NH3 จำนวน 2 โมลหรือ 34 กรัมทำปฏิกิริยาพอดีกับ  H2SO4  จำนวน  1  โมลหรือ 98  กรัม  เกิดเป็น  (NH4)2SO4จำนวน  1  โมล หรือจำนวน  132  กรัม

หากโจทย์กำหนดให้  มีสารตั้งต้นอย่างละ 8.5  กรัม  จำเกิด    (NH4)2SO4 จำนวนกี่กรัม

วิธีคิด (หรือจะเรียกว่าแนวคิดก็ได้จ๊ะ) อันดับแรกต้องหาว่าสารใดในปฏิกริยาทำปฏิกิริยาหมด ซึ่งแสดงว่าสารตวนั้นเป็นสารกำหนดปริมาณ

หา สารกำหนดปริมาณ (Limiting Reagent) ได้โดยใช้มวลของสารที่เข้าทำปฏิกิริยาหารตัวเลขของสารที่โจทย์กำหนดมาให้ ในที่นี้ โจทย์กำหนดให้ มีสารตั้งต้น  8.5  กรัม ดังนั้นใช้ 34  เป็นตัวหารในกรณีของแก๊สแอมโมเนีย และ 98 เป็นตัวหารในกรณีของกรดซัลฟุริก ดังนั้นจะได้ว่า 8.5/34  เท่ากับ  0.25  และ  8.5/98   เท่ากับ  0.086

จะเห็นได้ว่า ในกรณีนี้  ค่าที่ได้ของกรดซัลฟุริกมีค่าน้อยกว่า แสดงว่าในกรณีนี้กรดซัลฟุริกเป็นสารกำหนดปริมาณ(หรือเรียกว่า H2SO4   เป็นตัวกำหนดปริมาณ จึงใช้ปริมาณของกรดซัลฟุริกเป็นตัวคิดคำนวณหาปริมาณของผลิตภัณฑ์  ดังนั้นจะได้ว่าเมื่อใช้  กรดซัลฟุริกจำนวน  8.5  กรัมในการทำปฏิกิริยา จะเกิด (NH4)2SO4 จำนวน 11.4489 g   ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์

คิดได้มาจาก      [ (132  g) (8.5  g)] / (98  g )  จ๊ะ

แสดงว่าในปฏิกิรยา คงมี  NH3 เหลืออีกจำนวน  5.5510 g  เพราะว่าถูกใช้ไปเพียง  2.9489  g    ( 2.9489  g + 8.5 g = 11.4489 g  ครับผม )  ลองคิดดูไม่อยากอย่างที่คิด

ใส่ความเห็น

เขียนเรื่องเคมี

วันนี้เขียนเรื่องเคมีก็ได้ว๊ะ ไม่ได้พูดหยาบน่ะครับแต่เป็นนิสัย ถ้าไม่ชอบก็ด่าเลยน่ะ ไม่โกรธกันอยู่แล้ว ชิวชิว….

เอาเรื่องที่ใช้ได้ตลอดของเคมีดีกว่าน่ะ เอาเป็นว่าเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ เรื่องของเรื่องการเทียบหรือว่าตัวคูณ (ภาษาปะกิตเค้าว่ายูนิตแฟคเตอร์ อ่านว่ายูนิตแฟคเตอร์ แปลว่ายูนิตแฟคเตอร์)  ด้วยความเป็นจริงแล้วยูนิตแฟคเตอร์เป็นหน่วยหรือตัวคูณที่ได้มาจากการเทียบ ซึ่งเป็นการจำมาใช้ ใครจำดีก็ดีไป ถ้าจำมั่วแล้วจะยุ่ง แต่ว่าความเป็นจริงแล้วไม่ได้ยุ่งยากหรือมีความวิริสซามาหราแต่ประการได้ เป็นผลที่ได้มาจากการเทียบ(บัญญัติไตรยางค์=ข้อกำหนดสามบรรทัด) ตัวอย่างเรื่องของโมล

โมล ตามความหมายของโมลหมายถึงปริมาณของสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม (ซึ่งหมายถึง c-12 ที่หนัก  12 กรัม เมื่อนับจำนวนอะตอมแล้วจะได้จำนวนเท่ากับ  6.02 x 10 23 อะตอม  พอดิบพอดี  และเมื่อ ชั่งธาตุใด ๆ ก็ตามที่มีมวลเท่ากับมวลอะตอมเมื่อนับจำนวนอะตอมของธาตุนั้นปรากฏ(เอาปลากตธรรมดาก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นปลากตคัง)จะได้จำนวนอะตอมเท่ากับ  6.02 x 10 23 อะตอม หรือเท่ากับเลขอาโวกาโดร ผู้รู้ทั้งหลายจึงสรุปได้ว่า ธาตุใด ๆ หนึ่งโมลมีจำนวนอะตอมเท่ากับเลขอาโวกาโดร หรือว่าถ้าเป็นสารประกอบหรือสารใด ๆ  จำนวนหนึ่งโมลจะมีจำนวนอะนุภาคเท่ากับเลขอาโวกาโดรหรือเท่ากับ  6.02 x 10 23  อะนุภาค     ดังนั้นจึงมีตัวคูณเป็น  1 mol/6.02 x 10 23 atom  ซึ่งอาจเลือกใช้เป็น  6.02 x 10 23 /1 mol       เลือกใช้ตัวคูณเอาเองนาจ้าาาา ตามที่หน่วยที่คำถามหรือโจทย์ต้องการ  ตัวอย่าง

โอโซน O3  จำนวน 18  กรัมมีจำนวนกี่โมเลกุล  สามารคิดได้เป็นดังนี้

จำนวน molecule  =  (18  g) (1 mol/48 g)(6.02 x 10 23 molecule /1 mol )  ซึ่งคำตอบที่ได้เท่ากับ  2.2575  x 10 23 molecule

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเห็นได้ว่าจำนวน 1 mol/1 mol หักล้างกันหมดจะ ซึ่งจะได้ตัวคูณใหม่ที่สามารถเขียนได้เป็น  6.02 x 10 23 molecule/48 g  ซึงจะทำให้โจทย์ข้อนี้คิดได้อย่างรวดเร็วแบบใหม่เป็น

จำนวน molecule  =  (18  g) (6.02 x 10 23 molecule /48 g)  ซึ่งคำตอบที่ได้เท่ากับ  2.2575  x 10 23 molecule

เห็นม๊ะ เคมีง่ายกว่าที่คิด แต่ต้องรู้จักคิดรู้จักความสัมพันธ์ ไม่เช่นนั้นมันคงไม่เป็นชื่อของบทเรียนหรอกครับ “ปริมาณสัมพันธื” ต้องคิดเองเรียบเรียงลำดับความคิดและก็ต้องฝึกฝนการคิดน่ะครับ ฝึกจากตัวอย่างให้มาก ๆ ให้หลากหลาย แล้วเคมีจะอยู่คู่คุณ เชื่อครูทวัตน์ดิ บ๊ายบาย สองจุ๊บ กูดซาราไนท์

ใส่ความเห็น

ยืมเพื่อนมาย่า

กลยุทธ์ในการบริหาร ใครใครก็ต้องการให้หน่วยงานหรือองค์กรที่ตนเป็นผู้นำพาเดินสู่ความเจริญก้าวหน้า ไม่เสมอไปสำหรับนักบริหารที่ทำได้ดังที่คิดดังที่หวัง ยิ่งนำพายิ่งกลับดิ่งลงเหว เป็นเพราะว่าความไม่นำพาของตน เชื่อมั่นตน หลงตน จึงเป็นหนทางที่ทำให้องค์กรทรุดลงทรุดลง เป็นผลว่านักบริหารมีหลักในการบริหารที่ดี(ในทางต่ำต่ำ)ตรงตามหลักพรหมวินาศสี่ อันประกอบด้วย หนึ่ง… หลงอำนาจ     สอง… ฉ้อราษฎร์บังหลวง     สาม… หลอกลวงลูกน้อง   และก็สี่…  ยกย่องคนเลว   รับรองได้ครับว่าวินาศอย่างเห็นเห็น ใครต้องการทำให้องค์กรตกต่ำนำไปใช้ได้น่ะครับไม่สงวนลิขสิทธิ์  และในปัจจุบันกระแสของอัตลักษณ์กำลังมาแรง แรงมากมาก หากผู้นำองค์กรไม่เข้าใจในอัตลักษณ์ขององค์กร พังครับพังแน่แน่ ขอบอกขอบอก ไม่รู้ไม่ว่าไม่เข้าใจไม่เป็นไร แต่ไอ้ที่เข้าใจผิดนี่ซิยิงเลวร้ายกว่าเข้าไปอีกน่ะครับ  ยกตัวอย่างผู้บริหารที่เป็นผู้นำองค์กรที่เข้าใจผิดผิดคิดว่าถูกอย่างเช่น อัตลักษณ์ของ ผู้บริหารองค์กรคนหนึ่งมีลักษณ์เด่นมาก น่าคบ น่าเชื่อถือ น่าเอาเป็นแบบอย่าง แต่ใครเอาก็เอาเถอะครับผมคนหนึ่งละไม่เอาด้วย ดูอย่างอัตลักษณ์ของผู้บริหารคนนี้คนที่มีอัตลักษณ์เป็นอย่างนี้น่ะครับ พอเข้ามาในหน่วยงาน หรือในองค์กรก็จะทำตัวซะเป็นแบบ  “รบหมา  ด่าครู ดูวงจร ต้อนไก่วัด ฉัดนักเรียน เวียนนักการเมือง”  ไงครับอัตลักษณ์ของเค้าน่าหยักแหยงดีมั๊ย ผมก็จะบอกว่า คบได้ ใครคบ คบ ต๊ะ แต่กูไม่คบ” (ไม่ได้หยาบคายน่ะครับขอใช้ภาษาพ่อขุนฯ นิสหนึ่ง)  ทวัตน์  ชูชนะกิจครับ เป็นอาหารว่างไว้ขบคิดน่ะครับ บ๊ายบาย….

ใส่ความเห็น

คิดอย่างไรเขียนอย่างนั้น

ในโลกของความคิด ในโลกของความเป็นจริง คนส่วนมากคิดอย่าง เขียนอย่าง พูดอย่าง ช่างทรยศต่อความคิดตัวเองซะงั้น ในสังคมทุกวันหาคนที่คิดแล้วกล้าเขียนเขียนตามความคิดที่คิดได้ไม่ทรยศต่อความคิด ช่างหายากหาเย็น

คิดอย่างไรเขียนอย่างนั้น ใกล้เคียงกับคิดไปเขียนไป เนื่องจากคิดไปเขียนไปเป็นการเขียนบนความคิดที่สดใหม่ ไม่ได้กลั่นกรองไม่ได้เรียบเรียงเขียนไปเถอะครับถูกบ้างวผิดบ้าง เป็นเรื่องปกติของผมครับ (เพราะว่าผมมีอาชีพเป็นครูครับ (ผิดเป็นครู))  วันนี้ผมคิดได้แค่นี้แหล่ะครับ แล้วค่อยคิดและก็มาเขียนใหม่น่ะครับ อย่าลืมติดตามและให้กำลังใจผมน่ะครับ ขอบคุณครับ ครูทวัตน์

ใส่ความเห็น

เรียนเคมี

มีหลายคนบอกว่า การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเนื้อหาในวิชาเคมีฝากไว้กับตัวตนของตนเองประมาณเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ล้วน ๆ  อีกสิบเปอร์เซ็นต์ได้จากการชี้แนะจากผู้รู้ หรือคนอื่น ซึ่งจะสอดคล้องกับคำคำหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า ” สามวันจากเคมีเป็นอื่น” ซึ่งก็เป็นไปตามกฏของการใช้และไม่ใช้ ในกรณีที่เรียนรู้แบบแตะที่ผิว สามวันจากเคมี… หายจริงจริงครับ แต่ถ้าเรียนรู้ถึงแก่นแท้ของเคมีแล้วรับประกันได้เลยครับว่าเหมือนกับท่านฝึกเดินตอนสมัยเป็นเด็กตัวน้อย ๆ หลังจากที่ท่านเดินได้แล้วท่านจะไม่มีวันลืมวิธีการเดินโดยเด็ดขาด ถึงแม้นว่าคุณจะไม่ได้เดิน เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี หรือหลายปี ก็ตามท่านยังคงเดินได้(ปร๋ออออ) หลังจากท่านเดินเป็นแล้วท่านจะมีพัฒนาการของการเดินเรียนรู้การเดิน เทคนิคการเดินที่หลากหลายนำไปใช้ได้ในหลายหลายสถานการณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น หากเรียนเคมีรู้ลึกถึงแก่นแล้ว รู้ลึก รู้จริง เป็นเรื่องเรื่อง ท่านก็สามารถที่จะสามารถพลิกแผลงได้ตามกระบวนยุทธ์ สามารถนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้ เชื่อผมเถอะครับขอร้องล่ะนะ เรียนรู้เป็นเรื่องเรื่อง รู้ให้จริง รู้ให้ลึก รู้ให้ถึงแก่น แล้วท่านจะพบกับคำว่า ” เคมีเรียนได้ง่ายกว่าที่คิด”

ใส่ความเห็น