เขียนเรื่องเคมี

วันนี้เขียนเรื่องเคมีก็ได้ว๊ะ ไม่ได้พูดหยาบน่ะครับแต่เป็นนิสัย ถ้าไม่ชอบก็ด่าเลยน่ะ ไม่โกรธกันอยู่แล้ว ชิวชิว….

เอาเรื่องที่ใช้ได้ตลอดของเคมีดีกว่าน่ะ เอาเป็นว่าเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ เรื่องของเรื่องการเทียบหรือว่าตัวคูณ (ภาษาปะกิตเค้าว่ายูนิตแฟคเตอร์ อ่านว่ายูนิตแฟคเตอร์ แปลว่ายูนิตแฟคเตอร์)  ด้วยความเป็นจริงแล้วยูนิตแฟคเตอร์เป็นหน่วยหรือตัวคูณที่ได้มาจากการเทียบ ซึ่งเป็นการจำมาใช้ ใครจำดีก็ดีไป ถ้าจำมั่วแล้วจะยุ่ง แต่ว่าความเป็นจริงแล้วไม่ได้ยุ่งยากหรือมีความวิริสซามาหราแต่ประการได้ เป็นผลที่ได้มาจากการเทียบ(บัญญัติไตรยางค์=ข้อกำหนดสามบรรทัด) ตัวอย่างเรื่องของโมล

โมล ตามความหมายของโมลหมายถึงปริมาณของสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม (ซึ่งหมายถึง c-12 ที่หนัก  12 กรัม เมื่อนับจำนวนอะตอมแล้วจะได้จำนวนเท่ากับ  6.02 x 10 23 อะตอม  พอดิบพอดี  และเมื่อ ชั่งธาตุใด ๆ ก็ตามที่มีมวลเท่ากับมวลอะตอมเมื่อนับจำนวนอะตอมของธาตุนั้นปรากฏ(เอาปลากตธรรมดาก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นปลากตคัง)จะได้จำนวนอะตอมเท่ากับ  6.02 x 10 23 อะตอม หรือเท่ากับเลขอาโวกาโดร ผู้รู้ทั้งหลายจึงสรุปได้ว่า ธาตุใด ๆ หนึ่งโมลมีจำนวนอะตอมเท่ากับเลขอาโวกาโดร หรือว่าถ้าเป็นสารประกอบหรือสารใด ๆ  จำนวนหนึ่งโมลจะมีจำนวนอะนุภาคเท่ากับเลขอาโวกาโดรหรือเท่ากับ  6.02 x 10 23  อะนุภาค     ดังนั้นจึงมีตัวคูณเป็น  1 mol/6.02 x 10 23 atom  ซึ่งอาจเลือกใช้เป็น  6.02 x 10 23 /1 mol       เลือกใช้ตัวคูณเอาเองนาจ้าาาา ตามที่หน่วยที่คำถามหรือโจทย์ต้องการ  ตัวอย่าง

โอโซน O3  จำนวน 18  กรัมมีจำนวนกี่โมเลกุล  สามารคิดได้เป็นดังนี้

จำนวน molecule  =  (18  g) (1 mol/48 g)(6.02 x 10 23 molecule /1 mol )  ซึ่งคำตอบที่ได้เท่ากับ  2.2575  x 10 23 molecule

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเห็นได้ว่าจำนวน 1 mol/1 mol หักล้างกันหมดจะ ซึ่งจะได้ตัวคูณใหม่ที่สามารถเขียนได้เป็น  6.02 x 10 23 molecule/48 g  ซึงจะทำให้โจทย์ข้อนี้คิดได้อย่างรวดเร็วแบบใหม่เป็น

จำนวน molecule  =  (18  g) (6.02 x 10 23 molecule /48 g)  ซึ่งคำตอบที่ได้เท่ากับ  2.2575  x 10 23 molecule

เห็นม๊ะ เคมีง่ายกว่าที่คิด แต่ต้องรู้จักคิดรู้จักความสัมพันธ์ ไม่เช่นนั้นมันคงไม่เป็นชื่อของบทเรียนหรอกครับ “ปริมาณสัมพันธื” ต้องคิดเองเรียบเรียงลำดับความคิดและก็ต้องฝึกฝนการคิดน่ะครับ ฝึกจากตัวอย่างให้มาก ๆ ให้หลากหลาย แล้วเคมีจะอยู่คู่คุณ เชื่อครูทวัตน์ดิ บ๊ายบาย สองจุ๊บ กูดซาราไนท์

  1. ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น